3.2 พันธะไอออนิก

3.2.1 การเกิดพันธะไอออนิก 

มีประจุไฟฟ้าต่างกันยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้าของธาตุโลหะที่มีพลังงานไอออไนเซชันกับธาตุอโลหะที่มีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนสูง เรียกการยึดเหนี่ยวนี้ว่า พันธะไอออนิก

ตัวอย่างการเกิดพันธะไอออนิก

สารประกอบไอออนิกในสถานะของแข็งยู่ในรูปของผลึกที่มีไอออนบวกและลบยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิกอย่างต่อเนื่องกันไปทั้งสามมิติเป็นโครงผลึก


3.2.2 สูตรเคมีและชื่อของสารประกอบไอออนิก




3.2.3 พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก

ปฏิกิริยาเคมีนอกจากจะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีแล้วส่วนใหญ่ยังเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพลังงานด้วย ซึ่งพลังงานเกิดของสารสามารถประกอบสามารถหาได้จากการทดลองในการทำปฏิกิริยาระหว่างธาตุ

พลังงานที่เกี่ยวข้องกับการรวมกันของไอออนบวกและลบในสารประกอบไอออนิกเรียกว่า พลังงานโครงผลึก สามารถหาค่าพลังงานได้ด้วยการคำนวณ โดยอาศัยวัฏจักรบอร์น-ฮาเบอร์ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้
  1. ของแข็งระเหิดกลายเป็นแก๊ส เรียกพลังงานที่ใช้ในขั้นนี้ว่า พลังงานการระเหิด
  2. พลังงานที่ใช้ในการเสียอิเล็กตรอนให้กลายเป็นไอออนบวกเป็นไอออนลบ เรียกว่า พลังงานไอออไนเซชัน
  3. พลังงานที่ใช้ในการสลายโมเลกุลของแก๊สให้เป็นอะตอมในสถานะแก๊ส เรียก พลังงานการสลายพันธะ
  4. พลังงานที่คายออกมาเมื่อมีการรับอิเล็กตรอนให้กลายเป็นประจุลบเรียกว่า พลังงานสัมพรรรคภาพอิเล็กตรอน
  5. พลังงานที่ได้ออกมาเมื่อมีการยึดไอออนบวกกับไอออนลบให้กลายเป็นของแข็ง เรียกว่า พลังงานโครงผลึกหรือพลังงานแลตทิซ

3.2.4 สมบัติของสารประกอบไอออนิก

สมบัติบางประการของสารประการของสารประกอบไอออนิก

การนำไฟฟ้าของสารประกอบไอออนิก

3.2.5 สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิ


ปฏิกิริยาการเกิดตะกอนของสารประกอบไอออนิกในน้ำอาจเขียนแทนได้ด้วย สมการไอออนิก ที่แสดงไอออนในสารละลายทุกชนิด 


ไอออนในสมการของ)ฏิกิริยาที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย แสดงสถานะของไอออนเป็น aq (aqueous solution) และในบรรทัดสุดท้ายของสมการซึ่งตัดไอออนที่ไม่ทำปฏิกิริยากันออกแล้ว เราเรียกว่า สมการไอออนิกสุทธิ

การอธิบายหรือทำนายปฏิกิริยาการเกิดตะกอนของสารละลายของสารประกอบไอออนิกพิจารณาได้จากสมบัติการละลายน้ำ ตามหลักการเบื้องต้นดังนี้
สารประกอบละลายน้ำ
  • สารประกอบโลหะแอลคาไลและแอมโมเนียมทุกชนิด
  • สารประกอบไนเตรต คลอเรต เปอร์คลอเรต แอซีเตตทุกชนิด
  • สารประกอบคลอไรด์ โบรไมด์ ไอโอไดด์
  • สารประกอบซัลเฟต (ยกเว้นของ Pb Sr Ba ไม่ละลายน้ำ ส่วน Ca และ Ag ละลายน้อย)
สารประกอบไม่ละลายน้ำ
  • สารประกอบออกไซด์ของโลหะ
  • สารประกอบไฮดรอกไซด์
  • สารประกอบคาร์บอเนต ฟอสเฟต ซัลไฟด์ และซัลไฟต์ (ยกเ้นสารประกอบของแอมโมเนียมและของโลหะแอลคาไล) 



ความคิดเห็น